ประวัติโรงเรียน
-
ชื่อและที่ตั้ง
โรงเรียนบ้านหนองหว้า ตั้งอยู่หมู่ที่ 4บ้านโนนแดง ตำบลคูขาด อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา บนที่ราชพัสดุ เลขที่ นม. 1325 หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ นม. 1159 เนื้อที่ 22 ไร่ 3 งาน 61 ตารางวา
-
ประวัติและความเป็นมา
โรงเรียนบ้านหนองหว้า ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2482 เดิมชื่อว่า “โรงเรียนประชาบาลตำบลเมืองคง 9 ( วัดบ้านหนองหว้า ) ” อาศัยศาลาการเปรียญวัดบ้านหนองหว้าเป็นสถานที่เรียน มีนายอิน ช่างเหล็ก( นายอิน บูรณปรีชา ) เป็นครูใหญ่ มีนายแดง สินนอก ( นายแดง วิทโยปกรณ์ ) และนายตา นามสว่าง เป็นครูผู้สอน มีเด็กนักเรียน ชาย - หญิง จากหมู่บ้านหนองหว้ามาเข้าเรียนครั้งแรกจำนวน 64 คน เปิดทำการสอน 4 ชั้นเรียน ได้แก่ชั้นมูล ก ชั้นมูล ข ชั้นประถมปีที่ 1 และชั้นประถมปีที่ 2
วันที่1 กรกฎาคม 2486 มีการเปลี่ยนแปลงเขตตำบล และหมู่บ้าน โรงเรียนขึ้นอยู่ในเขตตำบลดอนตะหนิน อำเภอบัวใหญ่ เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนประชาบาลตำบลดอนตะหนิน 13 ( วัดหนองหว้า )”
วันที่ 14 สิงหาคม 2496 มีการเปลี่ยนแปลงเขตตำบลและหมู่บ้านอีกครั้ง โรงเรียนจึงขึ้นอยู่ในเขตตำบลเมืองคง อำเภอคง จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “ โรงเรียนวัดบ้านหนองหว้า ”
วันที่ 20 เมษายน 2513 กระทรวงมหาดไทยประกาศตำบลใหม่ โรงเรียนอยู่ในเขต ตำบลคูขาด อำเภอคง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
การตั้งโรงเรียนเอกเทศถาวร
วันที่ 1 พฤษภาคม 2510 นายสมศรี ศรีนอก ครูใหญ่สมัยนั้นร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน กรรมการสถานศึกษา ในเขตบริการโรงเรียน หาเงินก่อสร้างอาคารเอกเทศถาวร ตามแบบ ป.1 ฉ ( เตี้ย ) ขนาด 5 ห้องเรียนขึ้น ในที่ดินของโรงเรียนแต่ยังไม่แล้วเสร็จใช้เป็นสถานที่เรียนไม่ได้
วันที่ 28 ธันวาคม 2513 เกิดวาตภัยพายุพัดอาคารเรียนที่ค้างการก่อสร้างเสียหาย ทางราชการจึงได้จัดสรรงบประมาณมาซ่อมแซมและต่อเติมจนแล้วเสร็จใช้เป็นสถานที่เล่าเรียนได้เมื่อวันที่18 พฤศจิกายน 2514
พ.ศ. 2519 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจากสภาตำบลคูขาดให้ต่อเติมอาคารเรียน ป. 1 ฉ.
(เตี้ย) อีก 2 ห้องเรียน
พ.ศ. 2527 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.105/26 ขนาด 4ห้องเรียน 1 หลัง
พ.ศ. 2539 ทางโรงเรียนได้หางบประมาณมาต่อเติมด้านล่าง อาคาร สปช. 105/26 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยไม่อาศัยงบประมาณจากทางราชการ
พ.ศ. 2550 ทางโรงเรียนได้หาเงินก่อสร้างอาคารเรียนอนุบาล 1 หลัง ขนาด 3 ห้องเรียน โดยไม่อาศัยงบประมาณจากทางราชการ
พ.ศ. 2552 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณต่อเติมด้านล่าง อาคารเรียน สปช. 105/26 จำนวน 3 ห้องเรียน
พ.ศ.2550 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.105/29 จำนวน 4ห้องเรียน ใต้ถุนสูง
การขยายชั้นเรียน
เดิมโรงเรียนเปิดสอนในระดับชั้นมูล ก. มูล ข. ประถมศึกษาตอนต้น ชั้น ป. 1 - 4 และได้รับอนุมัติให้ขยายชั้นเรียนตามลำดับดังนี้
ปีการศึกษา 2521 เปิดขยายชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ปีการศึกษา 2522 เปิดขยายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2528 เปิดขยายชั้นก่อนประถมศึกษาในชั้นเด็กเล็ก
ปีการศึกษา 2535 เปิดขยายชั้นอนุบาลปีที่ 1
ปีการศึกษา 2536 เปิดขยายชั้นอนุบาลปีที่ 2 แทนชั้นเด็กเล็ก
ปีการศึกษา 2539 เปิดขยายโอกาสชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2550 เปิดขยายโอกาสชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ปีการศึกษา 2551 เปิดขยายโอกาสชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ปัจจุบันเปิดทำการสอน 3 ระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 11 ชั้นเรียน
ในปีงบประมาณ 2552 โรงเรียนได้ทำการศึกษาสภาพของโรงเรียนโดยวิเคราะห์สภาพทั่วไป (SWOT) ดังกล่าว
S (จุดแข็ง)
|
W (จุดอ่อน)
|
O (โอกาส)
|
T (สิ่งกีดขวาง)
|
1.โรงเรียนมีอาคารสถานที่เหมาะสมกับสภาพชุมชน
2. มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ความสามรถเหมาะสมกับคุณวุฒิ วัยวุฒิทางการศึกษา
|
1. สถานที่โรงเรียนมีบริเวณกว้างเนื้อที่บางส่วนไม่ได้ใช้ประโยชน์
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตรงตามวิชาเอกและความถนัด
|
1. ประสานงานองค์กรชุมชน อบต.ของบประมาณในการปรับปรุงอาคารสถานที่
2. สนับสนุนให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพและความถนัด
|
1. ขาดการประสานงานระหว่างองค์กรชุมชน อบต.
2. ไม่สามารถเลือกบรรจุครู,บุคลากรได้
3. การมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาความรักและ
|
S (จุดแข็ง)
|
W (จุดอ่อน)
|
O (โอกาส)
|
T (สิ่งกีดขวาง)
|
3. ชุมชน องค์กรชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษามีความเข้มแข็ง
4. มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหลากหลาย
5. มีกระบวนการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
6. บุคลากรทางการศึกษาในการใช้เทคโนโลยี (ICT )สูง
7.สภาพเศรษฐกิจของชุมชนมีความคล่องตัว
|
3. ชุมชน องค์กรชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาน้อย
4. ยังไม่ได้จัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และใช้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างจริงจัง
5. ขาดงบประมาณในการสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาในการผลิตผลงานวิจัย
6. ขาดเครื่อง มือและคอมพิวเตอร์และ ICT เชื่อมโยงระบบการเรียนรู้
7. ผู้ปกครอง ชุมชนสะดวกในการเคลื่อนย้าย อพยพที่อยู่บ่อย
|
3.ใช้การบริหารงานโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม(SBM)
4. ให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมจัดการศึกษา
5. ตั้งงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรและการทัศนศึกษาดูงาน
6. จัดตั้งงบประมาณจัดซื้อคอมพิวเตอร์
(ICT ) ต่อเชื่อมโยงระบบ Internet
7. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ชุมชนองค์กร ชุมชนตามสภาพเศรษฐกิจ
|
ความสามัคคี
4.องค์กรชุมชนเห็นความสำคัญการศึกษาของโรงเรียนน้อยไป ไม่มีเวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
5. งบประมาณมีจำนวนจำกัด
6.การจัดลำดับความสำคัญยังไม่นำผลงานการประเมิน สมศ. มาปรับเพื่อตั้งงบประมาณรองรับ
7. ประชาชน ผู้ปกครอง ชุมชนองค์กร ชุมชนมีตัวเลือกในการรับบริการ
|
ข้อสรุปผลการประเมินของ สมศ.
ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติได้ ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น นำแหล่งเรียนรู้ในและนอกโรงเรียน เชิญวิทยากรบุคคลภายนอกปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการโดยเฉพาะด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด การสร้างปัญญาโดยการเรียนรู้แบบโครงงานให้ครอบคลุมทุกชั้นเรียน ฝึกให้นักเรียนรู้จักตั้งคำถามจาการอ่าน การตั้งข้อสันนิษฐาน นำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่ำมาวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้เรียน ร่วมกันจัดทำโครงการ/กิจกรรมให้มีความสอดคล้องกันทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้รวมทั้งมอบหมายให้ครูที่มีศักยภาพทำการวิจัยเพื่อพัฒนา ( R&D ) หรือเชิญตัวแทนผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 6 หรือสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพเป็นเครือข่ายเข้ามาช่วยเหลือแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ส่งเสริมให้ครูวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่น ลัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระที่สอนในลักษณะบูรณาการที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน และให้ครูพัฒนาการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในรูปของการสอนแบบบูรณาการ โครงงาน แฟ้มสะสมงาน การแสดง การสาธิต การทดลองและการนำเสนองาน หรือการทดสอบด้วยการเขียน โดยการใช้เกณฑ์ประเมิน ( Rubric ) เป็นแนวทางการให้คะแนน ( Scoring guide ) ซึ่งสามารถจำแนกระดับความสำเร็จในการเรียนหรือการปฏิบัติของนักเรียนได้อย่างชัดเจนจากดีมากจนถึงต้องปรับปรุงแก้ไข
สถานศึกษาควรจัดทำแผนกลยุทธ์พัฒนาสถานศึกษา 3-5 ปี อย่างจัดเจนเหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น ศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร หลักการและวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน วางระบบและกลไกในการประกันสุขภาพภายในสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและได้รับการสนับสนุนจากต้นสังกัด ควรจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาอย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง ส่งเสริมและสนับสนุนให้กรรมการสถานศึกษากำหนดทิศทางและการบริหารสถานศึกษา ปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการพิเศษต่างๆ ให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครอบคลุมทุกช่วงชั้น อาทิ ห้องปฏิบัติการทักษะอาชีพ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ( Sound Lab ) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ให้ความสำคัญในการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญจำเป็น เพราะห้องสมุด คือหัวใจปฏิรูปการศึกษา จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการใช้บริการ ครูผู้สอนควรประสานงานกับครูบรรณารักษ์เพื่อร่วมกันกำกับ ติดตามนักเรียนในการใช้บริการห้องสมุดในเวลาเรียนอย่างมีวัตถุประสงค์ จัดกิจกรรมที่สร้างแรงกระตุ้นและส่งเสริมนักเรียนให้รู้จักแสวงหาความรู้และค้นคว้าเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยการเพิ่มหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือเสริมสร้างประสบการณ์ รวมทั้งติดตั้งอินเตอร์เน็ตให้นักเรียนได้สืบค้นข้อมูลอย่างแท้จริง จัดให้มีมุมหนังสือทุกชั้นเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่กระตุ้นละสร้างสิ่งเร้าให้ครู และนักเรียนได้มีนิสัยรักการอ่าน
ระยะเวลาในการพัฒนาสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานคุณภาพ สมศ. ในแต่ละมาตรฐานและในภาพรวม 3 ปี
ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
สถานศึกษา มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการบริหารโรงเรียนและคณะกรรมการอุปถัมภ์โรงเรียนในฝันที่มีศักยภาพสูง มีความพร้อมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาสถานศึกษา ผู้บริหารและครูมีความรู้ความสามารถ ในการบริหารจัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น ทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาควรนำภูปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน วิทยากรบุคลภายนอก แหล่งเรียนรู้ภายนอกโดยเฉพาะแหล่งงานประกอบอาชีพอิสระมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติงาน ฝึกทักษะชีวิตให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียน
|